จะกำจัดปลวกต้องรู้จักวรรณปลวก


195 Views

  พฤหัสที่ 26 พฤศจิกายน 2558

โดยทั่วไปปลวกแต่ละรังประกอบด้วยสมาชิก 3 วรรณะใหญ่ๆ คือ วรรณะทหาร วรรณะกรรมกร และวรรณะสืบพันธุ์ ทั้ง 3 วรรณะ อาศัยอยู่ร่วมกันภายในรัง ซึ่งมีการจัดระบบอย่างดี ทุกวรรณะมีหน้าที่ในการดำรงชีวิตเฉพาะของตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับหน้าที่ของวรรณะอื่น ๆ ในการดำรงชิวิต และการพัฒนาของประชากรในรังทั้งหมด การทำงานของปลวกแต่ละวรรณะ ถูกำหนดโดยหลายสาเหตุด้วยกัน การแลกเปลี่ยนสารเคมีระหว่างปลวกแต่ละตัวภายในรังเดียวกัน เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยควบคุมหน้าที่ต่าง ๆ ภายในรังให้ดำเนินไปตามภาระหน้าที่ของแต่ละวรรณะ

วรรณะทหาร(soldier)
มีหน้าที่ในการป้องกันประชากรในวรรณะอื่น ๆ จากศัตรูที่เข้ามาทำร้าย โดยทั่วไปเป็นพวกที่มีขนาดใหญ่กว่าปลวกวรรณะอื่น ๆ มีหัวโตสีน้ำตาล กรามใหญ่ ยาว และแข็งแรง ใช้ในการต่อสู้กับศัตรู ส่วนใหญ่จะเป็นมดชนิดต่าง ๆ ปลวกบางชนิดไม่มีกราม แต่จะมีตุ่มหรือท่ออยู่ที่ส่วนหัวซึ่งจะเป็นทางออกของสารเคมีซึ่งเป็นสารเหนียว ๆ เพื่อใช้ต่อสู้กับศัตรูแทนกราม

วรรณะกรรกร(worker)
พบจำรวนมากที่สุดภายในจอมปลวกแต่ละรัง มีหน้าที่หลายประการ เช่น เลี้ยงตัวอ่อน หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปลวกกรรมกรหรือบางครั้งเรียกว่าปลวกงานที่มีอายุต่างกัน จะมีขนาดและหน้าที่ในการดำเนินงานที่ต่างกันออกไป ปลวกกรรมกรเป็นปลวกที่ไม่มีปีก มีผนังลำตัวบางสีอ่อน เป็นวรรณะที่พบเห็นมากที่สุดเมื่อสำรวจพบการทำลายของปลวก เนื่องจากเป็นวรรณะเดียวที่ทำหน้าที่ในการทำลายไม้หรือวัสดุต่าง ๆ

วรรณะสืบพันธุ์(reproductive)
ประกอบด้วยปลวกที่มีรูปร่างลักษณะต่างกันไป ตามช่วงระยะเวลาของการดำเนินชีวิต เช่น
แมลงเม่า เป็นวรรณะสืบพันธุ์ที่มีปีก ส่วนใหญ่ปีกจะมีขนาดยาวเป็นสองเท่าของลำตัว สีของลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองไปจนถึงสีดำ เมื่อสภาพอากาศที่เหมาะสม แมลงเม่าจะบินออกจากรังไปผสมพันธุ์กัน และเริ่มสร้างรังใหม่
นางพญา และราชา เป็นแมลงเม่าที่ผสมพันธุ์กันแล้วสลัดปีก และสร้างรังอยู่ในดิน หรือในไม้ถ้าเป็นปลวกไม้แห้ง สำหรับนางพญาหรือราชินีปลวก เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ส่วนท้องจะขยายใหญ่เพื่อใช้เป็นอวัยวะที่ใช้เป็นที่เก็บไข่ซึ่งมีอยู่มากมายนับล้านฟอง เพื่อรอจังหวะที่จะวางไข่ต่อไป
วรรณะสืบพันธุ์รอง เป็นปลวกที่พบในรังที่นางพญาหรือราชามีประสิทธิภาพในการผลิตไข่ลดลง อายุขัยของปลวกวรรณะนี้จะสั้นกว่านางพญาหรือราชา และมีประสิทธิภาพในการวางไข่ต่ำกว่าด้วย
การควบคุมการเกิดของปลวกวรรณะต่าง ๆ นั้น สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นภายใต้การควบคุมของนางพญา ซึ่งจะผลิตสารเคมีหรือฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ออกมาทางรูขับถ่าย แล้วปลวกกรรมกรจะมาเลียสารนี้ แล้วเลียต่อกันไปจนทั่วรัง รูปร่างลักษณะรวมทั้งการทำงานของปลวกที่ได้รับสารเคมีจากนางพญา จะควบคุมให้เป็นไปตามความต้องการในการดำรงชีวิตของปลวกในแต่ละรัง

อ้างอิงเนื้อหาจาก
www.greenhome-pest.com/2019/09/16/จะ-กำจัดปลวก-ต้องรู้จัก/